การจับคู่สีของเกม Magic the Gathering นั้นมีความเด่นชัดในช่วง Plane Ravnica มากที่สุด เนื่องจากด้วยเนื้อเรื่องของเกม จะกล่าวถึงเมือง ที่ในเมืองประกอบไปด้วย 10 กิลด์ ซึ่งทั้ง 10 กิลด์นั้นมีความแตกต่างกันจากคู่สีมานาที่นับมาจับคู่กัน โดยในการจับคู่นั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือการจับคู่สีพันธมิตร และการจับคู่สีตรงข้าม ซึ่งสังเกตได้จากด้านหลังการ์ดเกม Magic The Gathering ดังนี้
คู่สีพันธมิตร มาจากการจับคู่สีที่อยู่ติดกัน เรียงตามด้านหลังการ์ด
คู่สีตรงข้าม คือการจับคู่สี โดยจะมีสีอื่นมาคั่นระหว่างทั้งสองสี
ด้านหลังของการ์ด
คู่สีพันธมิตร
1. ขาว - ฟ้า (Azorious) : ขาวคือสีที่คิดถึงองค์กร และภาพรวมเป็นหลัก ส่วนฟ้าก็เป็นสีที่แสดงถึงการวางแผน และความคิด ฟ้าและขาว จึงกลายเป็นสีคู่พันธมิตรที่เกิดมาเพื่อ สร้างองค์กรที่สมบูรณ์แบบ เป็นการวางแผนเพื่อสร้างองค์กร หรือบางสิ่งบางอย่างที่ดีที่สุด
ชื่อสี Azorious มาจากกิลด์ของ Plane Ravnica เป็นกิลด์ที่เปรียบเหมือนสภาสูงของPlane นี้
การ์ดที่โดดเด่นของสีขาวฟ้า คือการมุ่งเน้นไปที่การควบคุมสภาวะของสนาม และเป็นสีที่ไม่เน้นการเล่น Creature ของตนเอง จะใช้การ์ดอื่นๆ ในการจัดการคู่ต่อสู้มากกว่า
การ์ดควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จ
การ์ดล้างสนาม
การ์ดปิดเกมแบบแปลกๆ
ข้อเสียของคู่สีนี้ คือการที่สีฟ้าต้องการความสมบูรณ์แบบ และสีขาวจะยอมทุกอย่างเพื่อให้เกิดองค์กรที่สมบูรณ์ การ์ดของคู่สีนี้จึงเป็นการ์ดที่เล่นได้ช้า และการ์ดที่อยู่ในช่วงต้นเกม มักจะไม่มีผลอะไรกับกระดานมากนัก
การปิดเกมของคู่สีฟ้าขาว มักจะไปจบที่การควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จจนฝ่ายตรงข้ามยอมไปเอง หรือใช้การ์ดที่มีเงื่อนไขให้ตนเองชนะได้โดยไม่ต้องโจมตี ตรงนี้จะมีความคล้ายคลึงกับสีฟ้าอยู่เช่นกัน
*อย่างไรก็ดี ในการออกแบบการ์ดของเกม Magic The Gathering นั้น ไม่ได้อิงจากรูปแบบกิลด์เท่านั้น คู่สีขาว - ฟ้า ยังมีเอฟเฟคอื่นๆ ในชุดอื่นๆ เช่น การเล่นเป็น Flash, การ์ดที่เน้นความเป็น Hero (ใช้ตัวทำเกม 1 ตัว ที่เหลือเป็นการ์ดสนับสนุน) การ์ด Blink เป็นต้น
2. ฟ้า - ดำ (Dimir) : ฟ้าเป็นสีที่มุ่งเน้นการวางแผน ดำเป็นสีที่ใฝ่หาพลัง ฟ้าและดำจึงเป็นการรวมกัน ของการใฝ่หาพลังอย่างแยบยล มีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน ทำทุกวิถีทางที่จะให้คู่แข่งเสียเปรียบ ในขณะเดียวกัน ก็สร้างความได้เปรียบให้กับตนเอง เป็นสีที่มีความเป็นปรสิตสูง
ชื่อสี Dimir มาจากกิลด์ของ Plane Ravnica เป็นกิลด์ที่ทำหน้าที่สกปรกทุกอย่าง เช่นการสืบในทางลับ ลอบฆ่า ฯลฯ
การ์ดของคู่สีฟ้าดำ จะเป็นการ์ดที่ทิ้งการ์ดจากเคดลงสุสาน ทั้งของเรา และของคู่ต่อสู้ และการ์ดที่มีความสามารถในการขัดขวางเหมือนๆ กับสีฟ้า แต่ความต่างที่เห็นได้ชัดคือ การทำลาย Creature จากสีดำเข้ามามีผลกับคู่สีนี้มากขึ้น Creature ของคู่สีนี้ มักจะมีความสามารถในการโจมตีที่ยากต่อการบล็อก และเกิดผลบางอย่างเมื่อโจมตีเข้าผู้เล่นแล้ว
การ์ดควบคุมแบบสีฟ้า และตัดมือแบบสีดำ
การ์ดยืมความสามารถ... และสร้างความได้เปรียบ
การ์ด Creature ที่ป้องกันได้ยาก แถมยังมีเอฟเฟคเมื่อโจมตีเข้าผู้เล่นอีก
ข้อเสียของคู่สีนี้ มักจะเกิดจากการเจอกับคู่ต่อสู้แบบไหนมากกกว่า เพราะตัวคู่สีจะมีการ์ดที่อิงกับความสามารถของคู่ต่อสู้ หรือใช้ทรัพยากรของอีกฝ่าย อาจจะทำให้บางครั้งไม่สามารถดึงทรัพยากรของฝ่ายตรงข้ามมาใช้ได้ ถ้าหากไม่ถูกจังหวะจริงๆ
การ์ดที่อิงผลของเดคคู่ต่อสู่
การ์ดเล่นกับสุสานของตัวเอง
การปิดเกมของคู่สีนี้ มักจะใช้การสร้างความได้เปรียบไปเรื่อยๆ และปิดเกม โดยไม่มีวิธีการที่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นตัดทรัพยากรจากเดค เหมือนวิธีของสีฟ้า ใช้การโจมตี หรือขุดการ์ดจากหลุมของสีดำ
*คู่สีฟ้า - ดำ ยังมีการออกแบบที่อิงกับสิ่งอื่นๆ อีก ที่โดดเด่นคือการใช้เล่นกับ Artifact และเผ่า Zombie
3. ดำ - แดง (Rakdos) : ดำคือสีที่ทำทุกอย่างเพื่อพลัง แดงคือที่ทำทุกอย่างตามอารมณ์ และความวุ่นวาย เมื่อทั้งสองสีอยู่ด้วยกัน จึงกลายเป็นสีที่ทำทุกอย่างเพื่อพลัง โดยไม่สนเหตุผล ไม่สนวิธีการ เป็นสีที่มีความบ้าคลั่งอย่างถึงที่สุด
ชื่อสี Rakdos มาจากกิลด์ของ Plane Ravnica เป็นกิลด์ที่ไม่มีหน้าที่อะไรประจำเมือง แต่สมาชิกส่วนใหญ่จะเน้นการแสดงอันน่าหวาดเสียว และเสี่ยงตาย แม้ส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่กิลด์นี้มองว่าเป็นความน่าบันเทิงของตนเอง มักจะไม่ใช่สิ่งน่าอภิรมณ์สำหรับกิลด์อื่นๆ สักเท่าไหร่
การ์ดที่สะท้อนความเป็นคู่สีดำแดง จะเป็นการ์ดประเภทสร้างความวุ่นวายทั้งสนาม Creature จะเป็นประเภทรุนแรง เวทย์ต่างๆ ก็จะเป็นไปในทางผสมกันทั้งแดงและดำ ทั้งตัดการ์ดบนมือ และทำความเสียหายโดยตรง
ข้อเสียของคู่สีนี้ จะเหมือนกับสีแดง นั่นคือการ์ดส่วนใหญ่จะเน้นความรุนแรงในยามใช้งาน แต่ผลหลังจากนั้นจะไม่ได้วางแผน และคิดถึงเท่าใดนัก บางครั้งอาจจะทำให้เราเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้นก็ได้
การ์ดที่สร้างความปั่นป่วนได้ทั้งกระดาน
การ์ดที่ทำทั้งตัดการ์ดบมือ และยังสร้างความเสียหายด้วย
Creature ที่ทรงพลัง ที่มาพร้อมกับข้อเสียบางอย่าง
รวดเร็ว รุนแรง
การจบเกมของคู่สีนี้ คือการใช้การ์ดทุกอย่างสร้างความเสียหายให้กับฝ่ายตรงข้ามให้ได้มากที่สุด ก่อนที่สิ่งเหล่านั้นจะทำให้เราเสียเปรียบเสียเอง
*คู่สีดำ - แดง ที่อื่นๆ โดดเด่นคือเผ่า Vampire แต่อย่างไรก็ดี รูปแบบการเล่นจะยังคงเหมือนกับการออกแบบหลักของเกมอยู่ดี
4. แดง - เขียว (Gruul) : แดงคือสีของอารมณ์ และความวุ่นวาย ส่วนเขียวคือสีของพลังแห่งธรรมชาติ เมื่อรวมกัน แดงและเขียวจึงกลายเป็นพลังของธรรมชาติที่ไม่มีใครจะหยุดยั้งได้ โดยลำพัง ความเป็นธรรมชาติของสีเขียวนั้นก็ทรงพลังมากๆ แล้ว และเมื่อมีสีแดงเข้ามารวมด้วยแล้ว ยิ่งส่งเสริมความรุนแรงของพลังเหล่านั้นขึ้นไปอีก
ชื่อสี Gruul มาจากกิลด์ของ Plane Ravnica เป็นกิลด์ที่แบ่งออกเป็นเผ่าย่อย และอาศัยอยู่ในป่า เป็นกิลด์ที่ไม่ได้มีการบริหารอะไรเป็นรูปธรรม ส่วนใหญ่ใช้พลังในการตัดสินปัญหา ถือได้ว่าเป็นกลุ่มของพวกสัตว์ป่า คนเถื่อน มากกว่าที่จะเรียกว่าเป็นสมาคมที่มีหน้าที่ใดๆ
การ์ดของสีแดงเขียว จะเป็นการ์ดประเภท Creature เป็นส่วนใหญ่ และเป็น Creature ที่มีขนาดใหญ่ มีการ์ดสนับสนุนที่ช่วยให้สามารถโจมตีได้ทันที รวมถึงการ์ดที่อิงผลของการ์ดกับแลนด์
การ์ดที่ทำให้ Creature สามารถโจมตีได้ทันที
การ์ดทำลายสิ่งสังเคราะห์
การ์ดให้มานาแบบชั่วคราว
การ์ดเพิ่มพลัง
ข้อเสียของคู่สีนี้จะคล้ายๆ กับสีเขียว คือการ์ดส่วนใหญ่จะอิงกับการมี Creature ในสนาม เพื่อสร้างความเสียหาย ถ้าหากถูกทำลาย หรือล้างสนามไป มักจะกลับมาตั้งตัวได้ยาก และจะไม่มีการ์ดช่วยจั่ว หรือเติมมือเลย สิ่งที่เพิ่มเติมคือ คู่สีนี้เกลียดสิ่งสังเคราะห์มากกว่าสีเขียว และมีการ์ดที่สร้างความเสียหายให้กับผู้ที่เล่นการ์ดเหล่านี้
การ์ดที่ลงโทษ เมื่อไม่ยอมเล่น Creature
การ์ดรอเพื่อน
การปิดเกมของคู่สีนี้จะใช้ Creature เข้าโจมตีผู้เล่นอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว
5. เขียว - ขาว (Selenya) : เขียวคือสีของธรรมชาติ ขาวเป็นสีที่คำนึงถึงองค์กร สิ่งที่ทั้งสีเขียว และขาวมีร่วมกัน คือวามต้องการปกป้อง สีเขียวต้องการดูแลธรรมชาติ ส่วนสีขาวต้องการรักษาความเป็นองค์กร สีเขียวและขาวจึงเป็นสีที่เน้นความอนุรักษ์ เน้นการรักษาไว้เพื่อธรรมชาติ ผ่านการร่วมมือกันอย่างเป็นองค์กร
ชื่อสี Selenya มาจากกิลด์ของ Plane Ravnica เป็นกิลด์ที่ดูแลเรื่องธรรมชาติของเมือง และการจัดประเพณีต่างๆ ของเมือง เป็นกิลด์ที่สงบเสงี่ยม
การ์ดของคู่สีเขียว - ขาว มักจะเป็นการ์ดเชิงป้องกัน และเน้นไปที่ปริมาณของ Creature แต่จะแตกต่างจากสีขาว ตรงที่เมื่อจับคู่ทั้งสองสีนี้แล้ว Creature ที่ได้มา เป็นระดับน้องๆ สัตว์ยักษ์ของสีเขียว และจะมีการ์ดสร้าง Token ที่เพิ่มปริมาณเข้าไปอีก นอกจากนี้เวทย์บางอย่างของสีขาว ยังสามารถใช้ Creature ที่ปกติไม่มีความสามารถในการให้มานา นำมาช่วยร่ายได้อีกด้วย
การ์ดออก Token เกินค่าร่าย
การ์ดช่วยเพิ่มพลัง
การ์ดที่ใช้ Creature มาช่วยร่ายได้
ข้อเสียของคู่สีนี้ คือการที่ต้องการ Creature ปริมาณมหาศาล เพื่อใช้ในการช่วยร่ายเวทย์ปิดเกม และ Token ในเกมนี้ เป็นสิ่งที่อ่อนแอต่อเวทย์ประเภทยกขึ้นมือ (เพราะจะหายไปเลย) และการ์ดที่ทำความเสียหายโดยตรงใส่คู่ต่อสู้น้อยมาก
การ์ดที่อ้างอิงปริมาณ Creature ถึงจะได้ผลดี
วิธีปิดเกมของคู่สีเขียวขาว มักจะใช้ปริมาณ Creature มหาศาลในช่วงต้นเกมเข้ากดดัน และนำมาช่วยร่ายเวทย์ค่าร่ายเยอะๆ ในช่วงท้ายเกม
ขอบคุณภาพ และแหล่งข้อมูลจาก
Youtube Channel : The ManaSource